6.2.57

6 กลยุทธ์ สร้างยอดขาย แบบปากต่อปาก (Word of Mouth)






เชื่อว่าคุณคงเคยอยู่ดี ก็มีโทรศัพท์เบอร์แปลก ล่าสมาชิกจากฟิตเนสชื่อดัง ด้วยการแจ้งว่า คุณคือผู้โชคดีที่ได้รับสิทธิพิเศษไปออกกำลังกายฟรีโดยไม่มีเงื่อนไข  
วิธีการเจาะลูกค้าตรงด้วยการมอบสิทธิประโยชน์แบบนี้ ก็อาจจะได้ผลบ้าง แต่เผอิญกลยุทธ์การล่าเหยื่อทางโทรศัพท์ของแก๊งมิจฉาชีพมีกรณีศึกษาเยอะจนน่าหวาดกลัว ทำให้การทำการตลาด ลักษณะนี้สุ่มเสี่ยงต่อการเจอปฏิกิริยาตอบกลับจากปลายสายในทางลบอยู่มากทีเดียว เพราะลำพังการสนทนาไม่สามารถมีอะไรการันตีได้เลยว่าสิทธิประโยชน์ที่เสนอให้ลูกค้านั้น เป็นสิ่งจับต้องได้จริง
หรืออีกประสบการณ์ตรงที่ใกล้เคียง คือจดหมายเสนอบริการทำบัญชี จากสำนักงานบัญชีสารพัดสำนัก ที่คงได้รายชื่อการจดทะเบียนบริษัทใหม่ ก็กระหน่ำส่งจดหมายเชิญชวน เสนอบริการในทุกระดับราคา ด้วยโปรโมชั่นสารพัดรูปแบบ แต่ประเด็นสำคัญ คือ จะเชื่อได้อย่างไรว่า บริษัทเหล่านี้เชื่อถือได้ ไม่มาทำมิดีมิร้ายกับบัญชีของบริษัทฯ นั่นแหละคือปัญหา ที่ทำให้สุดท้าย ต้องไหว้วานคนรู้จักมาทำให้อยู่ดี
แต่จริง แล้ว ไม่ว่าจะเป็นฟิตเนสดี หรือคนทำบัญชีเก่ง เป็นข้อเสนอที่ลูกค้าอยากรับ แต่ "ความน่าเชื่อถือ" และ "ความไว้วางใจ" ต่างหากที่ทำให้เกิดช่องว่าง ทำให้สินค้าและบริการเหล่านั้น เจาะไม่ได้ เข้าไม่ถึง
การสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจนี่แหละ ที่เป็นสิ่งที่ยากและท้าทายกว่า ในการเจาะเข้าไปในกล่องดำของผู้บริโภค แต่ไม่ได้ยากเกินกว่าที่จะทำได้แน่นอน สิ่งสำคัญคือ การตลาดลักษณะนี้ เป็นกลยุทธ์เริ่มต้นของ word of mouth ที่จะช่วยแพร่กระจายข่าวสาร และเร่งยอดขายแบบประหยัดงบที่สุด แต่ก็ต้องครบถ้วนด้วยองค์ประกอบสำคัญในการสร้างส่วนผสมที่จะ ทลายกำแพงสร้างความน่าเชื่อถือในใจผู้บริโภคได้ ซึ่งหากเราเข้าไปนั่งในใจของลูกค้าได้ ลูกค้าก็จะกลายเป็นผู้บอกต่อ (Talker) กระจายข้อมูลสินค้า หรือบริการให้กับเราโดยปริยาย
ประการแรก ต้องหมั่นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าที่จะกลายเป็นผู้บอกต่อให้กับเรา (Cultivate key talkers) ..ฉบับแรก หรือโทรครั้งแรกต้องไม่ใช่การมุ่งขาย แต่เป็นการสร้างมิตรภาพล้วน เพราะปฏิกิริยาตอบกลับของลูกค้า คงทำให้เราพอจะประเมินได้ว่า เราจะเอาชนะใจลูกค้ารายนี้ได้อย่างไร การใช้ .. จะเป็นวิธีการที่รบกวนลูกค้าอย่างสุภาพ แต่ข้อความที่เป็นมิตรจะเชิญชวนให้ลูกค้าเปิดอ่าน และเปิดใจได้ง่ายกว่าการใช้โทรศัพท์
ประการต่อมา ใช้ของสมนาคุณ และงบการตลาดให้เกิดประโยชน์ (Use samples) อย่าขี้เหนียวเลย เพราะลูกค้าจะไม่มีวันพูดถึงสินค้าของเรา ถ้าหากเขาไม่รู้จักหรือเคยเห็นสินค้าเรามาก่อน ลองนึกเปรียบเทียบดูระหว่างสิทธิพิเศษของฟิตเนสที่เซลส์แปลกหน้าโทรเชิญชวนให้ไปรับ กับอยู่ มีคูปองหรือบัตรสมาชิกเทียบเชิญมาถึงบ้าน โอกาสที่จะได้ลูกค้าหรือลูกค้าเอาไปแจกจ่ายกระจายให้เพื่อนฝูง ให้ไปใช้บริการอย่างไหนจะมีมากกว่ากัน และถ้าเป็นสินค้าที่อยากให้ลูกค้าลองใช้ พวก sampling ต่าง ที่จ้างพริตตี้ไปยืนแจกหว่านให้ใครก็ไม่รู้ หากแปลงงบประมาณและจัดส่งไปยังลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจริง ให้สัมผัสได้ถึงความพิเศษเป็นการเฉพาะ ย่อมสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจ ในการถูกยกย่องของลูกค้า และจะยินดีเป็นทูตประชาสัมพันธ์สินค้าของเราในหมู่คนรอบข้างด้วยความยินดี
ประการที่สาม ปริมาณที่ส่งของไปให้ลูกค้าลองใช้บริการ สามารถกลายเป็นสร้างเทคนิค การกระจายข้อมูลสินค้าแบบง่ายๆ (Make it easy to spread the word) เพราะปริมาณของที่มีมากกว่าหนึ่ง ก็เป็นเครื่องมือในการที่ลูกค้าจะช่วยแจกจ่ายไปสู่คนรอบข้าง หรือจะใช้วิธีส่งโปสการ์ดเก๋ ดีไซน์เท่ ชุดใหญ่ แทรกข้อมูลสินค้าแบบไม่ยัดเยียด ไปให้ลูกค้าไว้ใช้ในโอกาสต่าง ช่วยกระจายข้อมูลสินค้าอีกทาง
ประการที่สี่  ให้สิทธิพิเศษที่จะทำให้ลูกค้าของเราดูดี มีความ "เหนือ" กว่าในการสร้างแรงจูงใจ หรือความภาคภูมิใจในการบอกต่อ (Make your talkers look good) ถ้าไปใช้บริการแล้วบอกว่าเขาแนะนำ มาจะได้ส่วนลดเพิ่มเติม หรือได้รับของสมนาคุณเป็นกรณีพิเศษ เทคนิคเหล่านี้ใช้ได้ผลเสมอมา
ประการที่ห้า ต้องเพิ่มความโดดเด่นให้ข้อมูลที่จะให้เกิดการบอกต่อ (Add remarkable features) ลำพังความโดดเด่นของสินค้าและบริการ อาจจะไม่มากพอในการสร้างความน่าสนใจในการกระจายข่าว อาจสร้างลูกเล่นให้หีบห่อ ด้วยกระดาษรีไซเคิลช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน เพื่อเป็นการจุดประกายในการสนทนา ให้มีประเด็นมากขึ้นและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าอีกทางหนึ่งอีกด้วย
สุดท้าย สำคัญที่สุด ต้องมั่นใจในตัวสินค้าและบริการเองว่ามีคุณภาพและน่าสนใจ (Create a fantastic product) ไม่อย่างนั้น อุตส่าห์ลองให้ลูกค้าใช้บริการ แล้วพบกับความผิดหวัง word of mouth จะกลายเป็น worst of mouth พังพาบด้วยปากบอกต่อได้เหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น