20.2.56

เทรนด์ของไอทีกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป


                 แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่สำคัญปี 2556 โดยมีปัจจัยเทคโนโลยีที่เติบโตก้าวกระโดดเป็นแรงผลักดันสำคัญ เช่น เทคโนโลยีคลาวด์ ทำให้ความต้องการผู้บริโภคเปลี่ยนไป และกลุ่มผู้หญิงเป็นแรงผลักดันหลักในตลาดมือถือสมาร์ทโฟน ถือเป็นสองแนวโน้มสำคัญ ขณะที่พฤติกรรมคนหนุ่มสาวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม และอินเทอร์เน็ตถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ๆ
                 "ข้อมูลดังกล่าวนี้ เป็นการศึกษาวิจัยทั่วโลกจากการสัมภาษณ์คนจำนวนกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ในมหานครขนาดใหญ่กว่า 15 แห่ง ตลอดหลายปีที่ผ่านมาได้สะสมข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคจำนวนมหาศาล และปัจจุบันเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวดเร็วอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน" นายไมเคิล บียอร์น หัวหน้าฝ่ายวิจัยของคอนซูมเมอร์ แล็บ กล่าว
นี่คือแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่เห็นเด่นชัดที่สุดปี 2556
                  1.ความสำเร็จบริการ "คลาวด์" ทำให้ความต้องการผู้บริโภคบนอุปกรณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป มากกว่า 50% ของผู้ใช้แทบเล็ต และมากกว่า 40% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสวีเดนพึงพอใจการใช้บริการคลาวด์ เพื่อให้สามารถใช้แอพตัวเดียวกัน และแชร์ข้อมูลต่างๆ ได้ บนอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งเครื่องอย่างรวดเร็ว
                   2.อุปกรณ์สื่อสารเพื่อความรวดเร็วทันใจ จากเดสก์ทอปที่ใช้ไฟล์และโฟลเดอร์ สู่อุปกรณ์พกพาที่ใช้ผ่านแอพ และบริการคลาวด์ ผู้บริโภคจำนวนมากเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมจากทำงานบนโต๊ะ สู่การใช้อุปกรณ์สื่อสารยุคใหม่ที่พกพาได้สะดวก งานหลายอย่างทำได้ในช่วงเวลาอันสั้น ขณะเข้าแถวซื้อสินค้า หรือขณะที่คุยกับใครสักคนในร้านกาแฟ ผู้บริโภคในหลายประเทศต้องการซื้อแทบเล็ตมากกว่าคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป และต้องการซื้อสมาร์ทโฟนมากกว่าโน้ตบุ๊คอีกด้วย
                   3. นำอุปกรณ์บรอดแบนด์ส่วนตัวมาทำงาน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 57%จะใช้สมาร์ทโฟนส่วนตัวในที่ทำงาน นิยมใช้ช่วยทำงาน รับส่งอีเมลล์ วางแผนเดินทางในธุรกิจ หาข้อมูลที่อยู่ต่างๆ และอีกหลายประโยชน์ใช้สอย
                   4. ผู้คนในเมืองใหญ่นิยมใช้อินเทอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา ด้วยความต้องการผู้บริโภคที่จะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา ได้ผลักดันให้เกิดการเติบโตตลาดอินเทอร์เน็ตบนมือถืออย่างแท้จริง คาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากถึง 3,300 ล้านคนภายในปี 2561 และชีวิตในเมืองจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์มือถือคุณภาพดีครอบคลุมทั่วถึง
                    5.มีการนำเครื่องมือออนไลน์มาใช้ประโยชน์หลายภาคส่วน เนื่องจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากเริ่มขาดความมั่นใจต่อองค์กรภาครัฐ และเอกชนบนโครงสร้างแบบดั้งเดิม จึงหันมาใช้เครื่องมือออนไลน์อย่างกว้างขวางเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง และเพื่อใช้เป็นที่พึ่งยามฉุกเฉิน เช่น การรวมกลุ่มออนไลน์สร้างสหกรณ์ออมทรัพย์แทนระบบธนาคาร การรวมกลุ่มของนักเรียนเพื่อช่วยกันทำการบ้าน การใช้สังคมออนไลน์แบบลิงค์-อิน เพื่อช่วยหางานแทนบริษัทจัดหางานแบบเดิม เป็นต้น
                   6.กลุ่มผู้หญิงมีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนตลาดสมาร์ทโฟน จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้หญิงเป็นแรงผลักดันสำคัญทำให้เกิดการยอมรับสมาร์ทโฟนอย่างกว้างขวาง มากกว่า 97% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพศหญิงใช้เอสเอ็มเอส 77% ใช้รับส่งรูปภาพ 59% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค 24 %ใช้เช็คอินเพื่อแสดงสถานที่ที่ตัวเองอยู่ 17%ใช้ค้นหาคูปองต่างๆ เป็นต้น ขณะที่ตัวเลขเหล่านี้สำหรับผู้ใช้เพศชายมีค่าน้อยกว่า
                     7.ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คสร้างไอเดียใหม่ๆ ในสังคมเมือง ผู้ที่อาศัยในเมืองใหญ่ มักมีจำนวนเพื่อนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่าผู้อาศัยบริเวณชานเมือง โดย 12% ของผู้อยู่ในเมือง บอกว่า เหตุผลหลักที่พวกเขาใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค เพื่อติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้อื่น ถือเป็นเหตุผลการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสาม รองจากการใช้เพื่อติดตามเรื่องราวของกลุ่มเพื่อน และใช้เพื่ออัพเดท ข้อมูลของตัวเองสู่พวกเขา
                      8.ประสบการณ์ชอปปิงแบบผสมผสานที่เรียกว่า "อิน-ไลน์ ชอปปิง" (In-line shopping) ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวน 32% ใช้สมาร์ทโฟนซื้อสินค้าอยู่แล้ว และเริ่มชอปปิงรูปแบบใหม่เรียกว่า อิน-ไลน์ ชอปปิง ผสมผสานข้อดีเลือกซื้อสินค้าในร้าน (อิน-สโตร์ ชอปปิง) เพื่อมีโอกาสสัมผัสของจริง ใช้เครื่องมือออนไลน์หาข้อมูลเพิ่มเปรียบเทียบราคา ใช้ซื้อสินค้าเพื่อลดเวลาเข้าคิวรอจ่ายเงิน
                     9.ทีวีบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค ผู้ชมราว 62% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ขณะที่ดูวีดีโอและทีวี โดย 42% ของผู้ชมกลุ่มนี้จะคุยกับผู้อื่นถึงสิ่งที่พวกเขากำลังรับชมอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง โดย 30%ของผู้ชมกลุ่มนี้เต็มใจจ่ายเงินกับคอนเทนท์ ที่พวกเขารับชมผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่า และรับชมวีดีโอ รวมถึงทีวีบนอุปกรณ์พกพาส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บ้าน
                    10.การเรียนรู้บนความเปลี่ยนแปลง ด้วยปัจจัยภายใน และภายนอกทำให้การเรียนรู้ยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก เด็กหนุ่มสาวยุคนี้ มักนำอุปกรณ์ส่วนตัวของตัวเองเข้าไปในห้องเรียนด้วย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งจากองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อหาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การเชื่อมสู่โลกอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำหรับเด็กๆ ทั่วโลก ในประเทศอินเดีย มีเด็กอายุ 9-18 ปี ราว 30 ล้านคน จากทั้งหมด 69 ล้านคน ที่อาศัยในเมืองใหญ่มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น