30.3.54

I am number two - part 2


ชัยชนะของเป๊ปซี่
            แต่ไหนแต่ไรมา ไม่เคยได้ยินเลยว่าเป๊ปซี่ (Pepsi) จะมีโอกาสแซงหน้าโค้ก (Coke) เอาเพียงแค่ใกล้เคียงก็ยากเสียแล้ว สำหรับในโลกน้ำดำ ไม่มีใครอาจหาญเทียบโค้ก เป๊ปซี่เองก็รู้ จึงใช้ Gimmick ทางการตลาดต่างๆ ออกมาสู้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Music Marketing หรือ Sports Marketing ก่อนที่จะพบว่าอย่างดีก็เป็นได้แค่ที่สองอย่างไรก็ตาม สถานภาพที่สองของ เป๊ปซี่นั้น กลับเป็นผลดีต่อเป๊ปซี่ เพราะทำให้เป๊ปซี่ไม่ดันทุรังที่เอาชนะโค้กในตลาดน้ำดำอีกต่อไป แต่เป๊ปซี่แสวงหาวิถีใหม่ซึ่งแตกต่างจากโค้กทว่าประวัติศาสตร์ 112 ปีของแชมป์เก่า ได้ถูกทำลายเสียแล้ว เกิดอะไรขึ้นกันแน่? ทั้งที่ในอดีตมูลค่าตลาดของโค้ก เคยมากกว่าเป๊ปซี่ ถึง 2-3 เท่า
            สัญญาณนั้นได้ส่งมานานพอสมควรแล้ว หลายปีที่ผ่านมาในตลาดโลกเป๊ปซี่ มีอัตราการ เติบโตที่สูงกว่าโค้ก มาตลอด ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป๊ปซี่ โต 7.8% ขณะที่โค้ก เติบโตเพียง 2.4%
ไม่ใช่แค่ตลาดในประเทศไทยเท่านั้น แต่ดูเหมือนในตลาดโลก บัลลังก์แชมป์ของโค้กได้ถูกโค่นลง แล้วโดยคู่แข่งตลอดกาลอย่างเป๊ปซี่
            เมื่อเดือนธันวาคม 48 ที่ผ่านมา ตัวชี้ขาดตัดสินคือมูลค่าตลาดของหุ้น” (Market Capitalization) วันนั้น มูลค่าตลาดของเป๊ปซี่ ทะยานขึ้นไปที่ 98.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนโค้กนั้นลดลง มาเหลือ 97.9 พันล้านเหรียญสหรัฐทั้งที่ในอดีตมูลค่า ตลาดของ Coke เคยมากกว่า Pepsi ถึง 2-3 เท่าคงไม่มีใครคัดค้านว่าน้ำอัดลม” (carbonated drink) กำลังอยู่ ในเทรนด์ขาลง ผู้บริโภคเริ่มสนใจสุขภาพมากขึ้น บริโภคน้ำอัดลม (ซึ่งเป็นผลร้ายต่อร่างกาย) ลดลง หันไปดื่มน้ำเปล่า เครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา และเครื่องดื่มชูกำลังมากขึ้น
            ย้อนกลับไปเมื่อ 3-4 ปีก่อน บริษัทเสริมสุข จำกัด มหาชน ผู้ปั้นเป๊ปซี่ไทยให้แรงแซงหน้า โค้กเพียงแค่ 4-5 ประเทศในโลก และเป็น 1 ใน 3 ประเทศหลักในเอเชียที่บริษัทแม่สนับสนุนเต็มที่ แถมยังได้รับเลือกเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายยอดเยี่ยมสองปีซ้อนในปี 2538 และ 2545 ด้วย นโยบายไม่ปล่อยโอกาสให้หลุดลอยโดยการเพิ่มสินค้าในกลุ่มน็อนคาร์บอเนต และไม่เคยกังวล กับการดื่มน้ำอัดลมที่ลดลงจนถึงวันนี้ ดูเหมือนเป๊ปซี่จะทิ้งห่างโค้กมากขึ้น เมื่อดูจากมูลค่าตลาด รวมล่าสุดประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท โค้กมีส่วนแบ่งตลาดอยู่เพียง 37% เท่านั้น ที่เหลืออีก 63% เป็นมาร์เก็ตแชร์ของเป็บซี่
            เสริมสุขพาเป๊ปซี่เดินบนเส้นทางของนวัตกรรมภายใต้กลยุทธ์ In&Out ด้วยการ เพิ่มรสชาติที่แปลกใหม่ ใส่ความตื่นเต้น แม้กระทั่งเปลี่ยนสีล่อใจให้คนรุ่นใหม่หวนกลับมาดื่ม และไม่ลืมรสชาติน้ำอัดลม ขณะที่โค้กยืนอยู่บนปรัชญาความคลาสสิกแห่ง Coca Cola ไม่แตะ ต้องน้ำดำ แต่ขับเคลื่อนไปพร้อมการแตกไลน์สินค้าใหม่
            นายชาลี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทเป๊ปซี่ (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ได้อธิบายความหมาย ของนำกลยุทธ์ In&Out ไว้ว่าหมายถึงการสร้างโปรดักต์ใหม่ๆบนฐานของ น้ำดำ เพื่อสร้างสีสันให้ตลาด แต่สินค้าใหม่เหล่านี้จะไม่อยู่คงทน หลังจากเข้ามาสร้างความ แปลกใหม่ ในช่วงหนึ่ง (In) จากนั้น ก็จะออกไป (out)” เป๊ปซี่แม็กซ์, เป๊ปซี่ทวิสต์, เป๊ปซี่บลู, เป๊ปซี่ไฟร์, เป๊ปซี่ไอซ์ และเป๊ปซี่ลาเต้ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของกลยุทธ์ In&Out
            จะเห็นได้ว่าเกมของบริษัทเสริมสุข เจ้าของแบรนด์เป๊ปซี่ในเมืองไทย ยังคงใช้เป๊ปซี่เป็นฐานหลักและนำนวัตกรรมมาต่อยอด เพื่อเพิ่มทางเลือกที่สดใหม่ให้ผู้บริโภค ขณะที่การ แตกไลน์ไปผลิตเครื่องดื่มครบวงจรหรือก้าวข้ามไปยังเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในกลุ่มนันคาร์บอเนต กลับเดินไปอย่างเชื่องช้า แต่ก็ได้ผลโคคา-โคลา(ประเทศไทย)ตกผลึกแล้วว่าจะต้องเปิดแนวรบ ใหม่ โดยกระโจนเข้าสู่เครื่องดื่มในเซ็กเมนต์น็อนคาร์บอเนตหรือไม่อัดลม โดยการสร้างสินค้า ใหม่ในแต่ละสายรองรับไลฟ์สไตล์ใหม่โดยไม่ไปแตะต้องน้ำดำเช่นที่เป๊ปซี่ทำในช่วงที่มี เครื่องดื่มใหม่ๆเข้ามา เราไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของโค้กเลยเพราะโค้กเคยมีบทเรียนจากโค้ก คลาสสิกในสหรัฐฯมาแล้ว โค้กจึงไม่เข้าไปเปลี่ยนบุคลิกหรือรสชาติสินค้าดั้งเดิม
            ผู้บริหารบริษัท โคคา-โคลา ประเทศไทย รายหนึ่งกล่าวยอมรับโค้กเดินอยู่บนการพัฒนาสินค้าใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ทั้งรสชาติใหม่ แบรนด์ใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เกิด ขึ้นจากพฤติกรรมคนไทยล้วนๆถ้านับตั้งแต่ปี 2545 ช่วงเวลาเดียวกันที่เป๊ปซี่ใส่นวัตกรรมลงใน น้ำดำ แต่ค่ายโค้กหันไปที่น้ำสีแฟนต้า ด้วยการใส่สีสันและความแปลกใหม่ เช่น แฟนต้าลิ้นจี่, สับปะรด,มะนาว, หรือน้ำผลไม้คูล ที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่น, ชาเนสที,มิกเซอร์ชเวปส์”, อไลฟ์, ชิเซน พลัสเป็นต้น หากทว่า ผู้บริหารของโค้กไทยกำลังจะกลับมาปวดหัวอีกรอบ เมื่อเป๊ปซี่ กำลังกลับมาสู่เกมที่ถนัดกับกลยุทธ์ “Free Rider Strategy” หรือ Ambush Marketing ในบทบาทของการเป็นผู้สนับสนุนแอบแฝงเมื่อมหกรรมกาแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งที่ 18 เกิดขึ้น แม้ว่าโค้กจะผูกขาดการเป็นสปอนเซอร์ฟุตบอลโลกมาโดยตลอดก็ตาม
            เวิลด์คัพ ช่วงปี 2002 ยืนยันความสำเร็จได้ดีถึงกลยุทธ์นี้ของเป๊ปซี่ ครั้งนั้น เป๊ปซี่ ได้สู้กับโค้ก ด้วย แคมเปญดื่มเป๊ปซี่ สนุกกับเป๊ปซี่ พาส ซอคเกอร์และแคมเปญโตเกียว 2002” ซึ่งเป็นการหลบเลี่ยงวลีโคเรีย-เจแปน 2002” ที่ฟีฟ่าจดลิขสิทธิ์ไว้ได้อย่างชาญฉลาด จนสามารถช่วงชิงกับภาพลักษณ์บอลโลกมาได้ โดยไม่ต้องเสียเงินกับการเป็นสปอนเซอร์แม้แต่ บาทเดียว

เป๊ปซี่อาศัยกลยุทธ์ลักษณะนี้ทุกครั้งที่มีมหกรรมกีฬารายการใหญ่เพื่อช่วงชิงความสนใจก่อน ใครเพื่อน โดยเฉพาะลูกเล่นเดิมๆ ด้วยการใช้นักเตะแข้งทองนามกระเดื่องของทีมชาติต่างๆที่ เป๊ปซี่เป็นสปอนเซอร์ให้ อาทิ โรนัญดินโญ่, เดวิด เบ็กแฮม, แฟรงก์ แลมพาร์ด ฯลฯ มาเป็นตัวชูโรง พร้อมๆ กับยิงโฆษณาที่มีดาราแข้งทองเหล่านี้เป็นผู้แสดง ชื่อชุด Pepsifest แน่นอนว่า มหกรรมฟุตบอลโลก 2006 สำหรับโค้กที่เป็นสปอนเซอร์หลัก ก็ต้องปาดเหงื่อกับลูกเล่นขโมยซีนของเป๊ปซี่อีกครั้ง แม้ว่าครั้งนี้ โค้กจะเตรียมตัวมาดี ทั้งแคมเปญและโปรโมชัน ที่อัดฉีดงบไปถึง 900 ล้านบาทให้ดูดีกว่าคู่แข่ง รวมถึงการตอกย้ำอภิสิทธิ์ที่มีอยู่ให้เหนือล้ำ กว่าเป๊ปซี่ ก็ตามที ที่สำคัญชาลีผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด เป๊ปซี่- โคล่า (ไทย)เชื่อว่าการใช้ นักเตะระดับโลกเป็นตัวชูในครั้งนี้จะทำให้ ยอดขายเป๊ปซี่โตอีก 10% ในช่วงฟุตบอลโลกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น