24.2.57

ธุรกิจบริการสุขภาพของไทยจะโตต่อไปอย่างไร (ตอนที่ 1)


          


          กรแข่งขันที่สูงขึ้นทําให้ธุรกิจโรงพยลเอกชนมีกรปรับตัวเพื่อบริหรต้นทุนและเพิ่มรายได้มากขึ้น จึงมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้างเครื่อข่าย/การรวมกลุ่ม และการขยายตลาดไปยังหัวเมืองมากขึ้น  ในขณะที่กระแสการดูแลสุขภาพส่งผลต่อรูปแบบการให้บริการของโรงพยาบาล ที่จะมุ่งตอบสนองความต้องการดูแลสุขภาพที่มีมากกว่าแค่การรักษาโรค รวมถึงการมุ่งสร้างจุดเด่นเพื่อขยายตลาด ให้กว้างกว่าเฉพาะกลุ่มผู้อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง


          อำนาจการต่อรองในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์จำนวนมาก สร้างข้อได้เปรียบสำคัญทางธุรกิจให้โรงพยาบาลเอกชนที่มีการรวมกลุ่ม หรือสร้างเครือข่ายท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น  การลดต้นทุนจะช่วยสร้างข้อได้เปรียบได้มาก ทั้งนี้ ในขณะที่ต้นทุนด้านบุคลากรโดยเฉพาะแพทย์ และค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีมีลักษณะที่ปรับลดลงได้ยาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การบริหารต้นทุนด้านยาและเวชภัณฑ์ดูเหมือนจะเป็นด้านที่ทำได้เร็วกว่า ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีการสร้างเครื่อข่าย และรวมกลุ่มกันจะมีมีข้อได้เปรียบในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ได้ด้วยราคาต่ำกว่าเนื่องจากมีอําานาจต่อรองในการซื้อครั้งละปริมาณมาก โดยพบว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านยาและเวชภัณฑ์ ของโรงพยาบาลที่มีการรวมกลุ่มต่อรายได้จากกิจการโรง พยาบาลมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่14% ในขณะที่ของกลุ่มโรงพยาบาลที่ไม่มีการรวมกลุ่มจะมีค่าดังกล่าว อยู่ที่ประมาณ21% ส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรของทั้งสองกลุ่มมีสัดส่วนต่อรายได้ของกิจการ โรงพยาบาลใกล้เคียงกันที่ประมาณ 40%  ทั้งนี้การขยาย การรวมกลุ่มและการ สร้างเครือข่าย ของ โรงพยาบาลเอกชนไม่ใช่ รูปแบบที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ประะเทศใน ภูมิภาครวมถึงประเทศคู่แข่งด้านบริการสุขภาพของไทยอย่าง ประเทศอินเเดียก็ยังมีแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มธุรกิจของ Fortis Healthcare มีโรงพยาบาลในเครือข่ายเพิ่มขึ้นจาก 47 โรง = 5,180 เตียงในปี 2009 เป็น 75 โรง = 12,000 เตียงในปัจจุบัน

ติดตามตอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น