17.8.58

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร 2558 (สาขาพืช)


          คาดว่าแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2558 หดตัวอยู่ในช่วงร้อยละ (-4.3) – (-3.3) โดยสาขาการผลิตท่ีหดตัวลง ได้แก่ สาขาพืช และสาขาบริการทางการเกษตร ขณะที่สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มข้ึน สําหรับผลผลิตพืชท่ีลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน และผลไม้ต่าง ๆ ขณะท่ี ผลผลิตปศุสัตว์ท้ังไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และนํ้านมดิบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 
          ส่วนการผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 ได้มีการบังคับใช้ กฎหมายการทําประมงอย่างเคร่งครัด อาจส่งผลให้มีการออก เรือไปจับสัตว์น้ําในทะเลลดลง ในส่วนของภาวะภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง จําเป็นต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อปรับแผนการผลิตสินค้าเกษตรรวมถึง การเตรียมมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร
          ในปี 2558 คาดว่าสาขาพืชจะหดตัวอยู่ในช่วง ประมาณร้อยละ (-7.0) – (-6.0) เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้ง ท่ีเกิดข้ึนต้ังแต่ช่วงปลายปี 2557 จนถึงครึ่งแรกของปี 2558 ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate change) ที่ทวีความ รุนแรงมากขึ้น ทําให้ผลผลิตพืชท่ีสําคัญลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง สับปะรดโรงงาน ยางพารา และผลไม้ เช่น ลําไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ ผลผลิตพืชที่เพิ่มข้ึน ได้แก่ มันสําปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มนํ้ามัน นอกจากนี้ การระบาดของศัตรูพืชต่าง ๆ ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการผลิตพืชในปี 2558



          ด้านราคาพืชที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ในปี 2558 คาดว่าลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2557 เนื่องจาก สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ อีกทั้ง อุปทานสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังมีอยู่มาก อาทิ ข้าว อ้อยโรงงาน (น้ำตาล) และยางพารา สําหรับการส่งออกพืช และผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสําปะหลัง และผลิตภัณฑ์ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ ลําไยและผลิตภัณฑ์ และมังคุด อย่างไรก็ตาม จากการที่สภาพภูมิอากาศทั่วโลก มีความแปรปรวนมากขึ้น อาจสร้างความเสียหายต่อผลผลิต พืชของโลก และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังราคาและการ ส่งออกสินค้าเกษตรของไทยด้วย

อ้างอิงรายงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เดือน มิ.ย.2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น